บทบาทเชิงกลยุทธ์ของการพยากรณ์

บทบาทเชิงกลยุทธ์ของการพยากรณ์
ในยุคปัจจุบันการจัดการซัพพลายเชนครอบคลุมถึงโรงงาน โครงสร้างพื้นฐาน หน้าที่ของฝ่ายต่างๆในบริษัท กิจกรรมที่ผลิตสินค้าและการบริการจากผู้ขายปัจจัยการผลิต รวมถึงผู้ขายปัจจัย การผลิตในทุกชั้นถัดไปลูกค้า และลูกค้าของลูกค้าในทุกระดับรวมถึงกิจกรรมการจัดซื้อ สินค้าคงคลัง การผลิต ตารางกำหนดการผลิตและการกำหนดทำเลที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้าการขนส่ง และการกระจายสินค้าส่งผลกระทบในระยะสั้นคือ การจัดการอุปสงค์ของสินค้า ส่วนระยะยาวจะเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และกระบวนการผลิต ความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนตลาด ซึ่งต้องมีการพยากรณ์ในส่วน ที่ได้รับผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นจะมองที่การพยากรณ์ที่แม่นยำซึ่งเป็นตัวบ่งชี้แนวทางในการเก็บสินค้าคงคลังที่กระจายอยู่ในจุดต่างๆ

ในระยะยาวต้องมองการเปลี่ยนแปลลงของโลก ทั้งทางเทคโนโลยี ตลาดในต่างประเทศคู่แข่งและปัจจัยภายนอกทั้งหมด ไม่ว่าเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ลูกค้า การเปลี่ยนแปลงตลาดใหม่
แนวโน้มการออกแบบซัพพลายเชนคือ การเติมสินค้าอย่างต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ขายสินค้า โดยใช้ยอดขายที่เชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มความเร็ว ในการส่งสินค้าให้ลูกค้า วิธีการนี้การตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็วการจัดส่งแบบทันเวลาพอดี (JIT) สินค้าคงคลังของผู้ขายปัจจัยการผลิตที่ได้รับการจัดการ (VMI) และการไม่เก็บสต็อก ฉะนั้นการพยากรณ์ที่ต้องมีประวัติ และตัวเลข ยิ่งมีตัวเลขในอดีตมากยิ่งทำให้การพยากรณ์แม่นยำขึ้น
การจัดการคุณภาพแบบสมบูรณ์ การพยากรณ์เกี่ยวกับการจัดการคุณภาพเพราะเป็นแนวทางในการจัดหาคุณภาพและบริหารที่ดีแก่ลูกค้า โดยให้บริการแก่ลูกค้าโดยสินค้าที่ถูกต้องทั้งคุณภาพและปริมาณส่งถึงในเวลาที่กำหนด สถานที่ที่ระบุ และราคาเป็นธรรม


การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ในการที่จะทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย และประสบความสำเร็จนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพยากรณ์อุปสงค์ในตลาดและผลิตภัณฑ์ในอนาคตที่แม่นยำ ต้องมองการพยากรณ์ทั้งระบบในการบริหารการผลิตมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ตัวเลขและข้อมูลเชิงปริมาณในการวางแผนและตัดสินใจการดำเนินการตามหน้าที่ต่างๆทั้งระยะสั้นและระยะยาว ข้อมูลเชิงปริมาณอันหนึ่งซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งคืออุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ เพราะอุประสงค์ของลูกค้าเป็นตัวกำหนดเชิงปริมาณของกิจกรรมการการบริหารการผลิตหลายประการทำให้สามารถทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจำกัดขององค์การให้เหมาะสมกับปริมาณที่ลูกค้าต้องการ การพยากรณ์ขึ้นกับกรอบเวลา พฤติกรรมอุปสงค์ และสาเหตุที่เกิดขึ้นของแต่ละพฤติกรรม


แหล่งสืบค้นข้อมูล : ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล.//(2556).//บทบาทเชิงกลยุทธ์ของการพยากรณ์
 //9 ตุลาคม 2561,/จาก/การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การรับสินค้า(Receiving Operation)

ความสำคัญของคลังสินค้า

ความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้ากับกิจกรรมโลจิสติกส์