ความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้ากับกิจกรรมโลจิสติกส์



ความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้ากับกิจกรรมโลจิสติกส์
การจัดการคลังสินค้ามีความสัมพันธ์กับกิจกรรมโลจิสติกส์ ดังนี้
         

1.การผลิต การผลิตสินค้าจำนวนน้อยส่งผลให้จำนวนสินค้าคงคลังน้อยลงตามสัดส่วนและทำให้ต้องการพื้นที่จัดเก็บสินค้าน้อย แต่ในทางการผลิตจะมีการผลิตบ่อยครั้งซึ้งทำให้ต้นทุนการตั้งเครื่องจักร(Setup Cost) และต้นทุนการเปลี่ยนสายการผลิตสูงขึ้น ในทางตรงกันข้ามการเดินสายการผลิตเพื่อผลิตสินค้าจำนวนมาก (Mass Product) ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ซึ้งทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ แต่สิ่งที่ตามมาคือเกิดสินค้าคงคลังของสินค้าสำเร็จรูปจำนวนมากและต้องการพื้นที่ในการเก็บสินค้ามากขึ้น ผู้บริหารจึงควรเปรียบเทียบ และหาทางเลือก (Trade-offs) ระหว่างต้นทุนการผลิตที่สามารถประหยัดได้ และต้นทุนสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นทำให้ได้ต้นทุนรวมต่ำที่สุด ซึ้งสรุปกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการผลิตดังนี้
     การสั่งซื้อ (Purchasing) เพื่อรักษาสต็อกที่ได้จัดซื้อแล้ว เป็นสต็อกที่ได้ลงทุนแล้ว
     การผลิต (Production) เพื่อเก็บวัตถุดิบ ส่วนประกอบ งานระหว่างการผลิต รวมถึงการเก็บรักษาสินค้าสำเร็จรูปในกรณีที่ชุดการผลิตมีการผลิตต่อเนื่องในเวลาที่ยาวขึ้น
        

  2.การขนส่ง คลังสินค้าจะรับวัตถุดิบจากผู้จำหน่ายสินค้าหลากหลายราย เพื่อรวบรวมเป็นขนาดการขนส่งให้เต็มเที่ยวและส่งป้อนโรงงานผลิต ซึ้งทำให้เกิดการประหยัดต่อการขนาดการขนส่ง โดยคลังสินค้าจะรับสินค้าจากหลายโรงงานเพื่อรวบรวมส่งให้กับลูกค้า ซึ้งจะทำให้เกิดการประหยัดมากกว่าที่แต่ละโรงงานส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยตรง ซึ้งการขนส่งโดยรวมนี้จะขนส่งโดยใช้ขนาดเต็มคันรถบรรทุก หรือขนาดที่น้อยกว่าที่รถบรรทุกสามารถบรรทุกได้ ในปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์ผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยนิยมการรวมกันส่งทำให้เกิดการประหยัดเพราะสามารถบรรทุกได้เต็มเที่ยว
          3.นโยบายการให้บริการลูกค้า คลังสินค้าและการให้บริการลูกค้ามีความสัมพันธ์หลายอย่าง เช่น นโยบายการให้บริการลูกค้า 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน (24/7) ต้องการสินค้าคงคลังจำนวนมากนอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงทางการตลาดมีผลกระทบต่อการเก็บสินค้าในคลังสินค้าได้  ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพยากรณ์ความต้องการสินค้า ถึงแม้ว่าความถูกต้องแม่นยำจะทำได้ยากก็ตาม
          4.การกระจายสินค้า คลังสินค้าเป็นส่วนหนึ่งของการกระจายสินค้าที่ทำหน้าที่ การจัดเก็บสินค้าและก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค ซึ้งการจัดการคลังสินค้ามีส่วนช่วยให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่ำสุดภายใต้ระดับการให้บริการลูกค้าที่กำหนดไว้ เดิมคลังสินค้าจะเป็นเพียงแค่จุดพักคลังสินค้าหรือจุดผ่านสินค้าเท่านั้น ซึ้งการกระจายสินค้ามีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องดังนี้
     -การตลาด เพื่อเก็บรักษาสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสต็อกเพื่อความปลอดภัยสำหรับการจัดหา
     -สินค้าคงคลัง เพื่อให้มั่นใจว่าสต็อกมีเพียงพอโดยการเชื่อต่อกับการจัดซื้อขากผู้ขาย
          5.โลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ในกรณีที่ธุรกิจมีตลาดในต่างประเทศ จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องของการจัดส่งสินค้าและการจัดเก็บสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มเติม ในกรณีที่เป็นผู้ส่งออกเพียงอย่างเดียวไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีศูนย์กระจายสินค้าในต่างประเทศ เนื่องจากธุรกิจนี้จะส่งสินค้าที่ผลิตแล้วตรงไปยังศูนย์กระจายสินค้าของลูกค้าในต่างประเทศในกรณีที่มีคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศเข้ามาเท่านั้น

แหล่งสืบค้นข้อมูล : ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล.//(2556).//ความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้ากับกิจกรรมโลจิสติกส์.//4 ธันวาคม 2561, /จาก/การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การรับสินค้า(Receiving Operation)

ความสำคัญของคลังสินค้า