มาตรการความปลอดภัยระดับนานาชาติ


มาตรการความปลอดภัยระดับนานาชาติ
การก่อการร้ายและอาชญากรรมเกิดขึ้นกับรถยนต์และสินทรัพย์ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันและในโลกปัจจุบัน พื้นที่ตะวันออกกลางบางประเทศ พื้นที่3 จังหวัดชายแดนใต้ก็เกิดรายวัน ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกันต้นทุนเหล่านี้วัดเป็นปริมาณได้ยาก  ตั้งแต่การโจมตีตึก World  Trade center นิวยอร์ก และ เพนตากอนในวอชิงตัน ดี.ซี. เรื่องความปลอดภัยด้าน โลจิสติกส์ได้กลายมาเป็นเรื่องที่รัฐบาลประเทศต่างๆสนใจมากขึ้นริเริ่มขึ้นเพื่อความเป็นไปได้ที่เกิดจากการโจมตีอีกครั้ง ทุกคนรู้ว่าการก่อการร้ายคงไม่จำกัดอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว และเราต้องตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความเปราะบางของซัพพลายเชนมากขึ้นการวางแผนเรื่องความปลอดภัยด้าน โลจิสติกส์และมาตรการระดับนานาชาติมีดังนี้
1.1 มาตรการความปลอดภัยสินค้าสหรัฐอเมริกา เนื่องจากว่าสหรัฐอเมริกาเป็นพื้นที่ เศรษฐกิจที่สุดในโลกใหญ่ และเป็นเหยื่อของการโจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน จึงน่าพิจารณามาตรการที่สหรัฐอเมริกาบังคับใช้เพื่อป้องกันการโจมตีในอนาคตอย่างละเอียดมากขึ้น
1.2 พันธมิตรด้านการค้าและศุลกากรเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย ระบบนี้เป็นระบบแบบสมัครใจที่สำนักงาน ศุลกากรและป้องกันชายแดน สหรัฐอเมริกาก่อตั้งขึ้นเป้าหมายคือ สร้างสภาพแวดล้อมของการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับบริษัทผู้นำเข้า บริษัทขนส่ง และบริษัทส่งออกนานาชาติที่ส่งออกมายังสหรัฐอเมริกา
1.3 การค้าเสรีและความปลอดภัย โครงการนี้จะควบคลุมถึงชายแดนสหรัฐอเมริกากับทั้งประเทศแคนนาดาและเม็กซิโก โครงการนี้มีเป้าหมายอยู่ที่การปล่อยสินค้าของผู้เข้าร่วม C-PTAT ผ่านชายแดนเหล่านี้ให้รวดเร็วมากขึ้นโครงการนี้มุ่งเพิ่มความปลอดภัยใน SC ให้สูงขึ้นโดยไม่ส่งผลเสียต่อการค้า
1.4 โครงการความปลอดภัยสำหรับคอนเทนเนอร์ เจ้าหน้าที่ศุลกากรจาก CBPจะประจำการอยู่ที่ท่าเรือใหญ่ๆ รอบโลกที่เป็นต้นทางคอนเทนเนอร์ ที่ส่งมายังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากว่าสินค้านำเข้าเกือบครึ่งหนึ่งเข้ามาสู่สหรัฐอเมริกาผ่านทางคอนเทนเนอร์ ระบบนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการป้องกันคอนเทนเนอร์ที่น่าสงสัย
1.5 ระเบียบการแจ้งบัญชีสินค้าล่วงหน้า กฎเหล่านี้เรียกร้องให้บริษัทและทั้งผู้ส่งออกส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าเกี่ยวกับสินค้าที่จะส่งถ้าข้อมูลที่ยืนยันมาไม่ครบถ้วนสับสนหรือล่าช้าผลอาจทำให้CPBแจ้งคำสั่ง ห้ามส่ง ไปยังบริษัทขนส่งนอกจากนั้นยังส่งผลให้สินค้าต้องรับการตรวจสอบเพิ่มเติมหรือริบใบอนุญาตให้ขนสินค้านั้นลงที่เรือที่สหรัฐอเมริกาด้วยCBP


แหล่งสืบค้นข้อมูล : ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล.//(2556).//มาตรการความปลอดภัยระดับนานาชาติ.//28 กันยายน 2561,/จาก/การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การรับสินค้า(Receiving Operation)

ความสำคัญของคลังสินค้า

ความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้ากับกิจกรรมโลจิสติกส์